ตามที่ได้มีการจัดสัมนาโต๊ะกลมเรื่อง "มาตรฐานที่จอดจักรยาน...บ้านเมืองของเรา" ของชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพและกรมโยธาธิการเมื่อวันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2558 ณ โรงแรมมิโด ถนนประดิภัทร์ที่ผ่านมา ผมเองก็มีโอกาสได้เข้าร่วมสัมนาในครั้งนี้ด้วย
จากการที่ผมได้เข้ารับฟังในที่ประชุมมีการเสนอถึงแนวทางในการจัดสร้างพื้นที่จอดจักรยานและพูดถึงรูปแบบการจัดการต่างๆโดยอิงรูปแบบการจัดการจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะจากญี่ปุ่นหรือฮอลแลนด์ ในส่วนนี้ทาง ดร.ธงชัย ประธานชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทยได้กล่าวถึงแผนผังของกลุ่่มผู้ใช้จักรยานซึ่งแบ่งเป็นขั้นแบบพีระมิดสามชั้น โดยชั้นบนสุดก็คือกลุ่มที่เป็นนักแข่งจักรยานซึ่งในกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากและมีความชัดเจนที่มุ่งไปในการใช้จักรยานเพื่อเป็นกีฬาเท่านั้นซึ่งท่านก็บอกว่ามีน้อยมาก ส่วนกลุ่มที่สองที่อยู่ตรงกลางคือกลุ่มที่เราจะเรียกว่ากลุ่มนักจักรยาน(cyclists)คนกลุ่มนี้คือพวกที่ปั่นจักรยานเพื่อเป็นกิจรรมยามว่าง เพื่อใช้ในการท่องเที่ยว หรือรวมตัวกันจัดกิจกรรมงานอีเว้นจักรยานต่างๆแต่ส่วนตัวผมเรียกกลุ่มนี้ว่า"กลุ่มแฟชั่นจักรยาน" และกลุ่มสุดท้ายที่อยู่ล่างสุดของพีระมิตรแต่เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของผู้ใช้จักรยานกลุ่มนี้คือกลุ่มคนทั่วไปที่ใช้จักรยานเพื่อการเดินทางในชีวิตประจำวัน หรือบางครั้งกลุ่มนี้ถูกเรียกจากกลุ่มนักจักรยานว่ากลุ่มจักรยานแม่บ้าน ซึ่งท่าน ดร.ธงชัย เน้นว่าเราต้องให้ความสำคัญคนกลุ่มนี้ที่สุดเพราะนี่คือคนที่ใช้จักรยานตัวจริง
และในการสัมนาครั้งนี้จึงมีการเชิญกรมโยธาธิการและผังเมือง ตัวแทนผู้ประกอบการเอกชน เช่น ห้างสรรพสินค้า คอนวีเนียสโตร์ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบวิชาชีพแขนงต่างๆและรวมถึงกลุ่มผู้ใช้จักรยานมาสัมนาร่วมกัน
ผมนั่งฟังอย่างเงียบๆและมีส่งเสียงอะไรในที่ประชุมสัมนาเฝ้ารอฟังว่าเรื่องราวมันจะเป็นอย่างไร แต่ผลที่ผมรู้สึกก็คือมันผิดที่ผิดทาง เพราะหากเป้าหมายของงานในครั้งนี้ต้องการหาแนวทางในการจัดทำที่จอดจักรยาน ก็คงต้องถามกลับไปยังจุดเริ่มต้นว่า เรากำลังทำอะไร?
มองประเด็นแรก
ธุรกิจกลุ่มผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า-ตึกสูง-อาคารสำนักงาน
"พื้นที่จอดจักรยานร่วมกับรถจักรยานยนต์ ห้างแฟชั่นไฮส์แลนด์" |
คงจะมีแค่คำถามสั้นๆว่า ทำแล้วพวกเขาจะได้อะไร? หากเราตอบแบบกำปั้นทุบดินว่ามันเป็น Corporate Social Responsibility (CSR)ของธุรกิจเขา ทำแล้วเขาจะได้ลูกค้าเพิ่ม มันไม่ได้ใช้พื้นที่มากนัก มันก็ต้องมองกลับไปหลักความจริงว่าไม่มีโครงการ CSR ไหนที่ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงหรอกครับ เขาไม่ได้ผลประโยชน์เขาก็ไม่ทำ หากจะบอกว่าทำแล้วจะได้ลูกค้าเพิ่ม ก็ต้องถามว่า เพิ่มมาเท่าไหร่? เป็นคนกลุ่มไหน? เป็นฐานลูกค้าเก่าหรือใหม่? เพราะถ้าเป็นคนกลุ่มเดิมลูกค้ากลุ่มเดิมที่มาใช้บริการของเขาอยู่แล้วแม้นจะไม่ที่จอดจักรยานเขาก็มา แบบนั้นไร้ประโยชน์ที่จะไปบอกเขาให้สร้างเพิ่มเติม ดังนั้นผมมองว่าประเด็นแบบนี้เราเล่นเหมือนเด็กที่เอาแต่ใจ อยากได้โน่นนี่นั่น แต่เราไม่มองว่ามันมีประโยชน์มากน้อยแค่ไหนกับผู้ประกอบการตรงนั้น ดังนั้นในส่วนนี้ผมคิดว่าไม่จำเป็นหรอกครับที่ถึงขั้นจะออกกฏมาควบคุมบังคับว่าพื้นที่ให้บริการเหล่านี้ต้องมีที่จอดจักรยานได้เท่านั้นเท่านี้คันตราบเท่าที่เราไม่สามารถตอบคำถามง่ายๆเหล่านั้นได้ แต่ให้มองย้อนกลับไปว่าห้างเหล่านั้นมีลานจอดรถจักรยานยนต์ให้บริการอยู่แล้วเราเพียงขอความร่วมมือเขาให้จัดบริการในการอำนวยความสะดวกในการดูแลและนำจักรยานเข้าไปจอดในลานจอดจักรยานยนต์ได้หรือไม่ ซึ่งผมบอกตามตรงเลยว่าเขาคงไม่ปฎิเสธเพราะที่ผ่านมาผมปั่นจักรยานไปห้างผมก็จอดที่จอดจักรยายนต์นั่นล่ะ มันไม่เปลืองพื้นที่ของเขาเพราะจักรยานกับจักรยานยนต์ใช้พื้นที่ในการจอด/คันใกล้เคียงกัน แล้วถ้าไปจอดในที่จอดจักรยานยนต์มันจะไปเก่ก่ะที่จอดเขาหรือไม่ ผมคิดว่ามันไม่มีปัญหามากเท่ากับไปบังคับเขาให้เปิดพื้นที่ใหม่หรอกนะครับ
ในส่วนของสถานที่ราชการและองค์ท้องถิ่นต่างๆ
"ผมปั่นจักรยานไปทำงานบนถนนหลักทุกวัน" |
ในที่ประชุมมีคุณผู้หญิงท่านหนึ่งซึ่งออกตัวว่าทำงานอยู่ที่อบจ,ในจังหวัดแห่งหนึ่ง มาแย้งว่าจะไปทำที่จอดจักรยานทำไมเพราะเจ้าหน้าที่ในอบจ.เองก็ไม่มีใครใช้จักรยานแต่ส่วนมากใช้รถจักรยานยนต์ แล้วผู้ที่มาติดต่อราชการก็ไม่มีใครใช้จักรยาน แล้วจะไปทำให้มันเสียงบประมาณทำไม ในส่วนนี้ผมก็มองเป็นประเด็นว่าเราจะไปสร้างกฏข้อบังคับว่าต้องมี มันก็ดูเหมือนเราเอาแต่ใจอีกเช่นเคยเพราะพื้นที่ราชการเหล่านี้มีลานจอดรถจักรยานยนต์อยู่แล้วเช่นกัน ดังนั้นเราสามารถขอความร่วมมือได้เช่นกันในการให้ราชการส่วนนั้นๆบริการและบริหารพื้นที่เพื่อจัดแบ่งในการจอดจักรยานร่วมกับจักรยานนต์จะไม่ดีกว่าหรือครับ ดีกว่าไปบอกเขาว่าต้องทำเพราะคุณมีพื้นที่เท่านั้นขนาดเท่านี้ตรม.มีคนทำงานเท่านี้คนมีคนมาติดต่อราชการเท่านั้นเท่านี้ต้องทำที่จอดจักรยานย่างน้อยกี่คัน ผมว่ามันเหมือเราแสดงความกร่างมากเกินไปหรือเปล่า นอกจากนั้นมีคุณผู้ชายอีกท่านบอกปั่นจักรยานจากบ้านมาทำงานแต่ไม่สามารถอาบน้ำได้ไม่สามารถต้อนรับแขกได้เพราะในห้องทำงานของท่านมีตู้ใส่เสื้อมีจักรยานจอดอยู่ ท่านบอกปั่นจากบ้านมา3-4กิโล ท่านบอกว่าควรจจะมีที่อาบน้ำผมอยากทราบว่ามันจำเป็นหรือครับ แล้วทำไมท่านต้องเอาจักรยานไปไว้ในห้องทำงาน ที่ทำงานไม่มีที่จอดรถจักรยานยนต์หรือครับจอดร่วมกับจักรยานยนต์ไม่ได้เพราะอะไรครับ ผมปั่นจักรยานจากบ้านไปทำงานระยะทางประมาณ20กิโล ไปกลับ40กิโล สมัยก่อนที่ทำงานผมไม่มีห้องอาบน้ำแต่ผมก็สามารถใช้เพียงผ้าขนหนูชุบน้ำในห้องน้ำมาเช็ดตัวก็ได้ หรือแม้นแต่วันที่มาสัมนาครั้งนี้ผมก็ปั่นจักรยานจากบ้านไปที่โรงแรมที่จัดสัมนาผมก็ไม่ได้อาบน้ำก่อนเข้าสัมนานะครับ จักรยานผมก็จอดที่ลานจอดจักรยานยนต์ ผมมองว่าเราเรียกร้องกันมากหากมองย้อนกลับที่พี่ผู้หญิงท่านแรกบอกว่าที่ทำงานท่านไม่มีใครปั่นจักรยานมาทำงาน แต่ที่ทำงานของคุณพี่ผู้ชายอีกท่านบอกท่านปั่นไปทำงานแล้วที่ทำงานนั้นมีกี่คนครับที่ปั่นจักรยานไปทำงาน คุ้มค่าหรือครับที่ต้องเอางบประมาณมาสร้างห้องอาบน้ำให้คนหนึ่งหรือสองคนอาบน้ำ คนที่มาติดต่อราชการมีคนปั่นจักรยานไปกี่คนแล้วเขาจะไปอาบน้ำอีกรอบหรือครับ คิดให้ดีก่อนว่ามันสิ้นเปลืองงบประมาณหรือเปล่าดีกว่าครับกับประเด็นนี้
เราจะทำที่จอดจักรยานอย่างไร เพื่อใคร?
"จักรยานของผมจอดในที่จอดวันไปสัมนา" |
ในวันที่ประชุมกันท่าน ดร.ธงชัย ก็ออกมาย้ำสองรอบว่าให้ดูที่ตัวเลขว่าเราต้องการที่จอดจักรยานกี่คันในแต่ละสถานที่พร้อมยกตัวอย่างแบบสำรวจความต้องการของผู้ร่วมประชุมและตัวเลขตามสูตรของกรมโยธา แต่ผมก็ยังมองว่าเรากำลังหลงประเด็นอยู่ดี ตัวเลขของกรมโยธามันก็ยังลอยแคว้งคว้างแบบสับสนกันเองเพราะมีสองสูตรในการคิด คือคิดแบบตามขนาดพื้นที่และตามจำนวนรถยนต์ที่จอด ตัวเลขของผู้ที่มาประชุมมันใช่ตัวเลขของคนที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจริงๆหรือ? เพราะมีบางท่านบอกเองว่าไม่ได้ปั่นจักรยาน ดังนั้นหากถามผมๆมองว่ากลุ่มที่ประชุมที่ทางชมรมเชิญมานั้นไม่ใช่คนที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเลย ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆในที่ประชุมวันนั้นมีใครปั่นจักรยานมาประชุมบ้าง มีปั่นมากันกี่คน เอาเป็นว่าผมเป็นคนหนึ่งที่ปั่นจักรยานมาประชุมผมจอดจักรยานเห็นมีจักรยานจอดอยู่ประมาณ4-5คัน ไม่รวมรถของผมนะครับ ถ้าทุกคันที่จอดเป็นของผู้มาร่วมประชุมผมว่ามันก็น้อยอยู่ดีเพราะมีผู้มาร่วมประชุมน่าจะราว50คนโดยประมาณ หากจะอ้างว่ามันไม่มีที่จอดผมก็ตอบว่ามีครับก็ผมจอดอยู่นี่ไง จอดร่วมกับรถจักรยานยนต์ ถ้าจะอ้างว่ามันไกลมันก็ต้องถามว่าแค่ไหนเรียกว่าไกล? ผมปั่นจากบ้านรามอินทรา กม.8ไปที่โรงแรมที่ตั้งอยู่ถนนประดิพัทธ์ ระยะทางร่วมๆน่าจะเกือบ20กิโล สรุปแบบนั้นผมปั่นมาไกลเกินไปหรือเปล่าครับ?
หากเราจะทำที่จอดจักรยานผมไม่สนับสนุนให้บังคับราชการหรือพื้นที่เอกชนต้องมีที่จอดจักรยานแยกออกไปจากส่วนเดิม อย่างเช่นที่น้องสถาปนิกคนหนึ่งในที่ประชุมบอกว่าที่จอดรถยนต์มีกฎหมายหรือข้อกำหนดบังคับแต่ที่จอดรถจักรยานยนต์ยังไม่มีแล้วเราทำไมข้ามขั้นตอนจะทำกฎที่จอดจักรยานเลย ใช่...ผมเห็นด้วยเพราะในสังคมปัจุบันคนใช้รถจักรยานยนต์มากกว่าใช้รถจักรยาน แล้วทำไมเราต้องเร่งสร้างกฎ ทำไมเราไม่ขอความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐขอความร่วมมือกับภาคธุรกิจเอกชนในการจัดพื้นที่จอดร่วมกับรถจักรยานยนต์ล่ะครับ มันง่ายกว่าไหม มันจะรวดเร็วกว่าไหมและสำคัญมันจะประหยัดเงินงบประมาณมากกว่าหรือไม่?
"นี่คือคนที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน" |
และหากเราจะทำที่จอดจักรยานผมแนะนำครับว่าให้ลงพื้นที่ชุมชนใหญ่ก่อนดีกว่าครับ ชุมชนแต่ละชุมชนจะมีพื้นที่หลัก เช่น ตลาด ป้ายรถเมล์ เน้นที่ชุมชนเพราะที่เหล่านี้ล่ะครับคือคนที่ใช้จักรยานในชีวิตประจำวันจริงๆ เขาใช้มันไปจ่ายกับข้าวที่ตลาด เขาใช้มันไปต่อรถเมล์ ส่วนที่บอกว่าขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้า ผมก็เรียนถามตรงๆก็ได้ ถ้าบ้านผมอยู่ กม.8 ผมจะไปสะพานควายแบบวันที่มาประชุม ผมจะปั่นจักรยานไปจอดแล้วต่อรถไฟฟ้าที่ห่างบ้านผมเป็นสิบโลทำไมครับ? หากผมอยากจะเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนผมก็คงปั่นไปจอดจักรยานผมไว้ที่หน้าปากซอยมากกว่า อย่างที่ท่านดร.ธงชัย เอาตัวเลขสถิติมาบอกเองว่าคนใช้จักรยานในชีวิตประจำวันเขาปั่นกันแค่4-5กิโล/วัน เท่านั้น
ผมว่าเรามาคิดให้รอบครอบกันก่อนดีหรือไม่ว่า พวกเรากำลังหลงประเด็นกันหรือเปล่า ผมว่าเริ่มต้นที่จุดเล็กๆแต่สำคัญที่สุดจะดีกว่าครับ เพราะวันนี้ท่านลากคนกลุ่มสองของพีระมิดมานั่งคุยทั้งนั้น